ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

เคียวโตะ (เมือง)

เคียวโตะ หรือ นครเกียวโต (ญี่ปุ่น: ???  Ky?to-shi ?) เป็นเมืองเอกของจังหวัดเคียวโตะ และเป็นอดีตเมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจัดว่าเป็นศูนย์กลางของเกาะฮนชู นอกจากนี้ นครเคียวโตะยังเป็นหนึ่งในสมาชิกของ กลุ่มเมืองใหญ่ "เคฮันชิง" และนครเคียวโตะ ยังจัดว่ามีประชากรมากเป็นอันดับ 11 ของโลก ในปี พ.ศ. 2555

แม้วาจะมีหลักฐานทางโบราณคดีว่ามีการตั้งถิ่นฐานที่เกาะญี่ปุ่นประมาณ 10,000 ปีก่อนคริสตกาล แต่ก็แทบจะไม่พบหลักฐานกิจกรรมของมนุษย์ใดๆเลยในบริเวณนี้ จนกระทั่งถึงคริสต์ศตวรรษที่ 6 ที่มีการค้นพบหลักฐานของมนุษย์ที่ศาลเจ้าชิโมะงะโมะ

ศตวรรษที่ 8 นักบวชในพุทธศาสนานั่นมีอิทธิพลอย่างมาก ได้เข้ามายุ่งเกี่ยวกับกิจการในราชสำนักของสมเด็จพระจักรพรรดิ ทำให้จักรพรรดิตัดสินพระทัยที่จะย้ายนครหลวงไปยังภูมิภาคที่ห่างไกลจากอิทธิพลของพุทธศาสนา จักรพรรดิคัมมุ ทรงเลือกชัยภูมิแห่งใหม่ ที่หมู่บ้านอุดะ

นครหลวงแห่งใหม่นี้ได้รับนามว่า เฮอังเกียว (???, "นครหลวงแห่งสันติและสงบสุข") ซึ่งนครหลวงแห่งใหม่นี้ได้แนวคิดมาจากนครหลวงฉางอานแห่งราชวงศ์ถัง เพียงแต่ปรับขนาดให้เล็กลง และต่อมาใน ค.ศ. 794 ก็ได้กลายเป็นนครที่ตั้งของราชสำนัก ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของยุคเฮอังในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น อย่างไรก็ตามแม้ว่าภายหลัง รัฐบาลทหารจะตั้งเมืองอื่นๆเป็นศูนย์กลางทางอำนาจการปกครองที่ไม่ใช่เคียวโตะ (รัฐบาลโชกุนมุโระมะชิ) เช่น คะมะกุระ (โดยรัฐบาลโชกุนคะมะกุระ) หรือ เอะโดะ (โดยรัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะ) แต่โดยทางนิตินัยแล้ว นครหลวงของญี่ปุ่นยังคงเป็นเคียวโตะอันเป็นนครที่พระจักรพรรดิทรงประทับอยู่ จนถึง ค.ศ. 1869 (ยุคฟื้นฟูจักรวรรดิ) ที่ราชสำนักได้ย้ายไปยังกรุงโตเกียว

เคียวโตะได้รับความเสียหายอย่างหนักจากสงครามโอนินในช่วง ค.ศ. 1467-1477 และไม่ได้รับการบูรณะจนล่วงเข้าสู่กลางทศวรรษที่ 16 โทะโยะโทะมิ ฮิเดะโยะชิได้บูรณะเมืองขึ้นมาอีกครั้งโดยสร้างถนนสายใหม่กลางกรุงเคียวโตะจนมีถนนเชื่อมเมืองฝั่งเหนือกับฝั่งใต้เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า และมีผังเมืองแบบบล็อกสี่เหลี่ยมแทนที่ผังเมืองแบบโบราณ ฮิเดะโยะชิยังได้สร้างกำแพงดินขึ้นมาเรียกว่า โอะโอะอิ (???) รอบเมือง ถนนเทระมะชิในกลางกรุงเคียวโตะจึงเป็นศูนย์กลางของวัดพุทธเมื่อฮิเดะโยะชิเริ่มรวบรวมวัดให้เป็นปึกแผ่น ในสมัยเอะโดะ เคียวโตะก็เป็นหนึ่งในสามเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น เช่นเดียวกับนครเอะโดะและนครโอซะกะ

ในช่วงกบฏฮะมะงุริ ในปี ค.ศ. 1864 บ้านเรือน 28,000 หลังได้รับความเสียหาย และการย้ายเมืองหลวงของพระจักรพรรดิในปี ค.ศ. 1869 ทำให้เศรษฐกิจของเคียวโตะอ่อนแอลง จากนั้นมีการตั้งเมืองใหม่ของเคียวโตะในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1889 มีการขุดสร้างคลองทะเลสาบบิวะในปี ค.ศ. 1890 นำน้ำมาหล่อเลี้ยงเมืองจนกระทั่งพัฒนาไปเป็นเมืองที่เจริญก้าวหน้าจนมีประชากรเกินหนึ่งล้านคนในปี 1932

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐอเมริกาเคยมีแผนจะทิ้งระเบิดปรมาณูที่เคียวโตะ ด้วยเหตุผลที่ว่าเป็นศูนย์กลางทางปัญญาของญี่ปุ่น และมีชาวเมืองที่"ดูมีความสุขกับการสร้างอาวุธ" แต่ในท้ายที่สุด เฮนรี แอล. สติมสัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสงคราม ในยุคของประธานาธิบดีรูสเวลต์และประธานาธิบดีทรูแมนได้ถอดชื่อเคียวโตะออกจากรายชื่อเมืองที่จะทิ้งระเบิดปรมาณูในช่วงปลายสงคราม และเปลี่ยนเป็นเมืองนะงะซะกิแทน นอกจากนี้ เมืองยังรอดพ้นจากการทิ้งระเบิดสงครามในสงครามอีกด้วย แม้จะมีการโจมตีทางอากาศอยู่บ้างประปราย

ผลจากการตัดสินใจครั้งนั้น ทำให้เคียวโตะเป็นหนึ่งในไม่กี่เมืองในญี่ปุ่นที่ยังมีสิ่งก่อสร้างในยุคก่อนสงครามหลงเหลืออยู่มากมาย เช่น บ้านโบราณที่รู้จักกันในชื่อ มะชิยะ แต่อย่างไรก็ตาม การพัฒนาเมืองก็กำลังทำให้วัฒนธรรมดั้งเดิมของเคียวโตะค่อยๆถูกสถาปัตยกรรมใหม่ๆกลืนหายไป

เคียวโตะมีสถานะเป็นนครโดยรัฐบัญญัติของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1956 และในปี 1997 เคียวโตะก็เป็นสถานที่จัดการประชุมครั้งสำคัญว่าด้วยเรื่องการปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจก จนมีข้อบังคับออกมาเป็นพิธีสารเกียวโต

แต่เดิม เมืองนี้มีชื่อในภาษาญี่ปุ่นว่า เคียว (?) และ มิยะโกะ (?) หรือบางครั้งก็ถูกเรียกรวมว่า เคียวโนะมิยะโกะ (???) ต่อมาในศตวรรษที่ 11 ก็ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น เคียวโตะ (มีความหมายว่า เมืองหลวง) ตามคำของภาษาจีนของเมืองหลวงที่อ่านว่า จุงตู (??) แต่หลังจากที่เมืองเอะโดะถูกเปลี่ยนชื่อเป็นโตเกียว (มีความหมายว่า "เมืองหลวงตะวันออก") ในปี ค.ศ. 1868 เมืองเคียวโตะก็ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น ไซเกียว (?? มีความหมายว่า "เมืองหลวงตะวันตก") เป็นเวลาสั้นๆ ก่อนจะเปลี่ยนกลับมาเป็น เคียวโตะ ในเวลาต่อมา

เคียวโตะ ตั้งอยู่กลางหุบเขาในลุ่มน้ำยะมะชิโระ (หรือลุ่มน้ำเคียวโตะ) ทางฝั่งตะวันออกของที่ราบสูงทัมบะ ลุ่มน้ำยะมะชิโระนี้ล้อมรอบด้วยภูเขาสามด้านคือ ฮิงะชิยะมะ คิตะยะมะ และนิชิยะมะ มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลเพียง 1,000 เมตร การที่มีภูมิประเทศอยู่ในแผ่นดินลักษณะนี้ทำให้เคียวโตะมีฤดูร้อนที่อากาศร้อน และฤดูหนาวที่อากาศหนาว มีแม่น้ำสามสายไหลผ่านที่ราบลุ่มแห่งนี้คือ แม่น้ำอุจิ ทางทิศใต้ แม่น้ำคัทสึระ ทางทิศตะวันตก และแม่น้ำคะโมะ ทางทิศตะวันออก เมืองเคียวโตมีพื้นที่คิดเป็นร้อยละ 17.9 ของพื้นที่ทั้งจังหวัดเคียวโตะด้วยอาณาเขต 827.9 ตารางกิโลเมตร

เคียวโตะเป็นเมืองที่สร้างตามจากหลักฮวงจุ้ยของจีน โดยได้รับอิทธิพลจากเมืองฉางอาน เมืองหลวงของราชวงศ์ถังของจีนในสมัยนั้น โดยมีพระราชวังหันหน้าไปทางทิศใต้ มีอุเกียว (ฝั่งขวาของพระนคร) อยู่ทางตะวันตก และมีซะเกียว (ฝั่งซ้ายของพระนคร) อยู่ทางตะวันออก

ทุกวันนี้ พื้นที่ธุรกิจส่วนใหญ่ของเคียวโตะตั้งอยู่ทางตอนใต้ของพระราชวังเก่า แต่ได้รับความนิยมน้อยกว่าฝั่งเหนือของเมือง ทำให้ยังคงความชะอุ่มของสีเขียวจากธรรมชาติอยู่ สิ่งก่อสร้างที่อยู่รอบๆพระราชวังไม่ได้ตั้งตามหลักฮวงจุ้ยแบบโบราณแล้ว แต่ตัวถนนของเคียวโตะยังคงความเป็นเอกลักษณ์นี้ไว้อยู่

นครเคียวโตะมีสภาพอากาศแบบค่อนข้างร้อนอบอ้าว ในช่วงฤดูร้อนจะร้อนและชื้นและในฤดูหนาวมีอากาศค่อนข้างหนาวเย็นประกอบกับมีหิมะเป็นครั้งคราว ฤดูฝนของเคียวโตะเริ่มตั้งแต่กลางเดือนมิถุนายนจนถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม

ทั้งหมดรวมกันเป็นนครเคียวโตะ ที่มีนายกเทศมนตรีและสภาเทศบาลนครอันมาจากการเลือกตั้งเป็นผู้บริหาร

เคียวโตะเคยมีประชากรมากที่สุดในญี่ปุ่น ก่อนจะถูกโอซะกะและเอะโดะ(โตเกียว)แซงไปในช่วงท้ายศตวรรษที่ 16 ช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เคียวโตะทำการค้ากับโคเบะและนะโงะยะในปริมาณมาก ช่วงหลังสงคราม ในปี 1947 เคียวโตะมีประชากรเป็นอันดับสามของญี่ปุ่นอีกครั้ง และประชากรค่อยๆลดลงไปเรื่อยๆ จนมาอยู่อันดับ 5 ของญี่ปุ่นในปี 1960 และหล่นมาอยู่อันดับ 7 ในปี 1990 จนกระทั่งปี 2012 ก็มีประชากรมากสุดเป็นอันดับ 8 ของญี่ปุ่น

แม้เคียวโตะจะถูกรบกวนด้วยสงคราม ไฟไหม้ และแผ่นดินไหวบ่อยครั้งในช่วงที่เป็นเมืองหลวงตลอด 11 ศตวรรษที่ผ่านมา แต่เคียวโตะก็รอดพ้นจากการโจมตีในสงครามโลกครั้งที่ 2 ทั้งยังถูกถอดออกจากรายชื่อเมืองที่จะถูกทิ้งระเบิดปรมาณูจากกองทัพสหรัฐอเมริกาในช่วงปลายสงคราม และเปลี่ยนไปเป็นเมืองนะงะซะกิแทน ด้วยเหตุผลที่ว่า เฮนรี แอล. สติมสัน รัฐมนตรีสงครามของสหรัฐฯต้องการจะรักษาวัฒนธรรมนี้ไว้ และได้รู้จักเมืองเคียวโตะนี้จากการไปเยือนเพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางการทูตและจากการไปฮันนีมูน

เคียวโตะมีสถานที่สำคัญทางศาสนากว่า 2,000 แห่ง เป็นวัดทางศาสนาพุทธ 1,600 แห่ง และทางลัทธิชินโต 400 แห่ง มีพระราชวัง สวน และสิ่งก่อสร้างที่ยังคงความดั้งเดิมไว้มาก มีวัดที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง อาทิ วัดคิโยะมิซุ ที่สร้างโดยใช้เสาหลักปักตามเนินของภูเขา วัดคิงกะกุ (วัดศาลาทอง), วัดกิงกะกุ (วัดศาลาเงิน) และ วัดเรียวอัง ที่มีสวนหินที่โด่งดัง ศาลเจ้าเฮอังเป็นศาลเจ้าที่มีชื่อเสียงในลัทธิชินโต สร้างขึ้นในปี 1895 เพื่อเฉลิมพระเกียรติองค์จักรพรรดิและให้ระลึกถึงราชวงศ์แรกและราชวงศ์สุดท้ายที่ประทับอยู่ที่เคียวโตะ

ราชวงศ์ของญี่ปุ่นมีความเกี่ยวข้องกับพื้นที่สามแห่งของเคียวโตะ ได้แก่ เขตเกียวเอ็นของเคียวโตะ อันเป็นที่ตั้งของพระราชวังเคียวโตะ และพระราชวังเซ็นโตะ ที่ประทับของสมเด็จพระจักรพรรดิของญี่ปุ่นหลายร้อยปี เขตพระราชวังหลวงคะสึระ อันเป็นสมบัติทางสถาปัตยกรรมที่สำคัญของชาติ และเขตพระราชวังชุงะกุ อันเป็นสวนที่สวยที่สุดแหงหนึ่งของญี่ปุ่น

บริเวณอื่นๆของเคียวโตะ ก็มีความสำคัญทางวัฒนธรรมเช่นกัน เช่น อะระชิยะมะ ย่านกิอง ย่านเกอิชา ปงโตะโช ตลอดจนถนนสายนักปราชญ์ และคลองอีกหลายๆแห่ง

อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เคียวโตะโบราณ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากองค์การยูเนสโก เมื่อปี ค.ศ. 1994 ซึ่งประกอบไปด้วยสถานที่สำคัญทางวัฒนธรรมหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็น ศาลเจ้าคะโมะ, วัดเคียวโอโกะโคะคุ (วัดโท), วัดคิโยะมิซุ, วัดโดโงะ, วัดนินนะ, วัดไซโฮ, วัดเท็นรีว, วัดโระกุอง (วัดคิงกะกุ), วัดจิโช (วัดกิงกะกุ), วัดเรียวอัง, วัดฮงงัน, วัดโคซัง และปราสาทนิโจ ที่สร้างโดย โชกุน โทะกุงะวะ อิเอะยะซุ และมีอีกหลายแห่งที่อยู่นอกเมืองที่อยู่ในรายชื่อมรดกโลกด้วย

เคียวโตะมีอาหารญี่ปุ่นรสชาติโอชะอยู่มากมาย การที่เคียวโตะเป็นเมืองที่ห่างไกลจากทะเลและมีวัดพุทธอยู่มากมายทำให้มีนำผักมาเป็นส่วนหนึ่งของอาหาร จนผักของเคียวโตะมีชื่อเสียงขึ้นมา ที่เรียกว่า เคียวยะไซ (???)

เคียวโตะยังมีสำเนียงภาษาพุดที่เป็นเอกลักษณ์ที่เรียกว่า เคียวโคะโตะบะ หรือ เคียวโตะเบ็ง อันเป็นหนึ่งในรูปแบบของสำเนียงคันไซ เมื่อครั้งที่เคียวโตะเป็นเมืองหลวงของญี่ปุ่นนั้น สำเนียงเคียวโตะถือเป็นภาษาราชการของญี่ปุ่นและมีอิทธิพลพัฒนาเป็นสำเนียงโตเกียว อันเป็นภาษามาตรฐานสมัยใหม่ของญี่ปุ่น ส่วนที่โดดเด่นของสำเนียงเคียวโตะคือ การที่คำกริยะจะลงท้ายด้วย -ฮะรุ เป็นต้น

เศรษฐกิจที่สำคัญในเคียวโตะนั้นมาจากอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและอิเล็กทรอนิกส์ นครเคียวโตะนั้นยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่บริษัทชั้นนำมากมาย อาทิ นินเทนโด, ออมรอน เป็นต้น แต่ทั้งนี้ การท่องเที่ยวยังเป็นรากฐานทางเศรษฐกิจที่สำคัญของเคียวโตะ จากการที่เป็นเมืองมรดกโลกทางวัฒนธรรมนั้น ทำให้ในแต่ละวัน มีนักเรียน-นักศึกษาจากทั่วประเทศรวมถึงนักท่องเที่ยวจำนวนมากมาทัศนศึกษาและท่องเที่ยวในเคียวโตะ และจากการสำรวจและจัดอันดับระดับภูมิภาคในปี 2007 นครเคียวโตะได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับที่สองในเมืองที่น่าสนใจที่สุดของญี่ปุ่น รองจากนครซัปโปะโระ

นอกจากนี้ งานฝีมือแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นยังเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญของเคียวโตะ ซึ่งส่วนใหญ่จะดำเนินการโดยช่างฝีมือในโรงงานขนาดเล็ก กิโมโนของเคียวโตะนั้นยังมีชื่อเสียงอย่างมาก จากการที่เคียวโตะเป็นเมืองที่ยังคงเป็นศูนย์กลางของการผลิตกิโมโนชั้นนำ อย่างไรก็ตามธุรกิจชนิดนี้ก็ได้รับความนิยมน้อยลงในปัจจุบัน จากการขาดแคลนทรัพยากรบุคคลด้านช่างฝีมือที่มีคุณภาพ

เคียวโตะเป็นสถานที่ตั้งของสถาบันระดับอุดมศึกษา 37 แห่ง นับเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาที่สำคัญแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น โดยมีมหาวิทยาลัยเคียวโตะเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศและของโลก และยังมีสถาบันเทคโนโลยีเคียวโตะเป็นอีกหนึ่งมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในญี่ปุ่น มีชื่อเสียงในสาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยโดะชิชะและมหาวิทยาลัยริทสึเมคังก็เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่มีชื่อเสียงในแถบเคฮังชินเช่นกัน

สถานีเคียวโตะ เป็นศูนย์กลางการคมนาคมของเมือง เป็นสถานีที่รวมเอาห้างสรรพสินค้า โรงแรม โรงภาพยนตร์ ห้างสรรพสินค้าอิเซะตัน และสำนักงานราชการหลายๆแห่งเอาไว้ในตึกสูง 15 ชั้น มีรถไฟชิงกันเซ็งสายโทไกโดวิ่งผ่านและเชื่อมต่อกับรถไฟของบริษัทเจอาร์เวสต์

นอกจากนี้ ยังมีรถไฟเอกชนอย่าง รถไฟเคฮัง รถไฟฮันกีว รถไฟคินเตะสึ และสายอื่นๆให้บริการรับส่งผู้โดยสารจากเคียวโตะสู่พื้นที่อื่นๆในแถบคันไซ โดยรถไฟเจอาร์เวสต์และรถไฟคินเตะสึจะเชื่อมต่อที่สถานีเคียวโตะ ขณะที่รถไฟฮันกีวจะเชื่อมต่อกับเคียวโตะที่สถานีชิโจ คะวะระมะชิ อันเป็นแหล่งซื้อขายสินค้าและย่านบันเทิงของเคียวโตะมาตั้งแต่สมัยโบราณ

รถไฟชิงกันเซ็งสายโทไกโดเชื่อมต่อเมืองเคียวโตะกับนะโงะยะ โยะโกะฮะมะ และโตเกียวในทิศตะวันออก ตลอดจนโอซะกะ โคเบะ โอะคะยะมะ ฮิโระชิมะ คิตะคีวชู และฟุกุโอะกะทางทิศตะวันตก

ท่าอากาศยานที่ใกล้กับเคียวโตะที่สุดคือ ท่าอากาศยานนานาชาติคันไซ และ ท่าอากาศยานนานาชาติโอซะกะ ในจังหวัดโอซะกะ โดยมีรถไฟเชื่อมต่อกับท่าอากาศยานทั้งสอง ใช้เวลาจากสถานีเคียวโตะถึงท่าอากาศยานนานาชาติคันไซ 73 นาที

โครงข่ายรถประจำทางมหานครของเคียวโตะและโครงข่ายเอกชนเป็นเครือข่ายที่ให้บริการค่อนข้างครอบคลุมตัวเมือง และเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวด้วยเช่นกัน ทั้งรถโดยสารทั่วไปและรถโดยสารสำหรับนักท่องเที่ยว มีการประกาศเป็นภาษาอังกฤษและแสดงข้อความถึงจุดจอดเป็นอักษรละตินอีกด้วย

รถประจำทางในเมืองส่วนใหญ่จะมีราคาเดียว และยังมีบัตรโดยสารแบบวันเดียวและแบบขึ้นได้ไม่จำกัดรอบจำหน่ายเพื่อเป็นทางเลือกสำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการจะเยี่ยมชมสถานที่หลายๆแห่งในเคียวโตะภายในเวลาอันสั้น

การปั่นจักรยานก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับเมืองเคียวโตะ เพราะสภาพภูมิประเภทศและขนาดของเมืองนับว่าเหมาะเป็นอย่างยิ่งกับการเที่ยวโดยจักรยาน นอกจากนี้ อัตราการขโมยจักรยานยังมีอัตราที่ต่ำ แต่การหาพื้นที่จอดจักรยานนับว่าเป็นเรื่องที่ยากพอสมควร

เคียวโตะมีแม่น้ำ คลองหลายสายไหลผ่าน ทั้งแม่น้ำเซะตะและอุจิ (แม่น้ำโยะโดะ) แม่น้ำคะโมะ และแม่น้ำคัตสึระ นอกจากนี้ คลองทะเลสาบบิวะก็เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญเช่นกัน

"สมบัติของชาติ" ราว 20% และ "สมบัติสำคัญทางวัฒนธรรม" ราว 14% ของญี่ปุ่นนั้นอยู่ในเคียวโตะ ในปี ค.ศ. 1994 องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ให้การรับรองกลุ่มมรดกโลกในนครเคียวโตะ ในนามของ อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เคียวโตะโบราณ (เมืองเคียวโตะ, อุจิ และ โอะสึ) ซึ่งในเคียวโตะมีทั้งหมด 17 สถานที่ด้วยกัน คือ


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

ลีโอ กาเมซ ดัสติน ฮอฟฟ์แมน จักรพรรดินีมารีเยีย อะเลคซันโดรฟนาแห่งรัสเซีย โอลิมปิก 2008 กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน ครั้งที่ 24 การก่อการกำเริบ 8888 วิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพ ยุทธการแห่งบริเตน บีเซนเต เดล โบสเก โคเซ มานวยล์ เรย์นา เคซุส นาบัส คาบี มาร์ตีเนซ เฟร์นันโด โยเรนเต เปโดร โรดรีเกซ เลเดสมา เซร์คีโอ ราโมส ควน มานวยล์ มาตา บิกตอร์ บัลเดส ชูอัน กัปเดบีลา ชาบี ดาบิด บียา อันเดรส อีเนียสตา การ์เลส ปูยอล ราอุล อัลบีออล กัปตัน (ฟุตบอล) อีเกร์ กาซียัส สโมสรฟุตบอลบียาร์เรอัล 2000 Summer Olympics Football at the Summer Olympics Spain national football team Valencia CF S.L. Benfica Sevilla FC Villarreal CF Midfielder Defender (association football) เนวิลล์ ลองบัตท่อม เจ.เค. โรว์ลิ่ง แฮร์รี่ พอตเตอร์ (ตัวละคร) บ็อบบี ร็อบสัน สมเด็จพระราชาธิบดีโบดวงแห่งเบลเยียม แอนดรูว์ จอห์นสัน อิกเนเชียสแห่งโลโยลา เจ. เค. โรว์ลิ่ง เวสลีย์ สไนปส์ ฟิลิปที่ 3 ดยุกแห่งเบอร์กันดี ยอดเขาเคทู สมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Munhwa Broadcasting Corporation โจ อินซุง ควอน ซัง วู ยุน อึนเฮ รักวุ่นวายของเจ้าชายกาแฟ อุซึมากิ คุชินะ มาเอดะ อัตสึโกะ คิม ฮีชอล เจสสิก้า ซิมพ์สัน จาง เซี๊ยะโหย่ว พิภพ ธงไชย วิมล ศิริไพบูลย์ มหาธีร์ โมฮัมหมัด บอริส เยลซิน ออกแลนด์ เรนโบว์วอริเออร์ ฝ่ายพันธมิตร เด่น จุลพันธ์ เคอิทาโร โฮชิโน แมนนี่ เมลชอร์ ผู้ฝึกสอน ไมเคิล โดมิงโก ก. สุรางคนางค์ นิโคล เทริโอ ซีเนอดีน ซีดาน เริ่น เสียนฉี โจเซฟีน เดอ โบอาร์เนส์ โอดะ โนบุนากะ แยกราชประสงค์ แคชเมียร์ วีโต้ แอฟริกัน-อเมริกัน Rolling Stone People (magazine) TV Guide อินสตาแกรม Obi-Wan Kenobi Saturday Night Live The Lego Movie Jurassic World Guardians of the Galaxy (film) Her (film) แอนนา ฟาริส จอมโจรอัจฉริยะ จอมโจรคิด ตัวละครในฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน ตัวละครในฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน ลุยจี กอนซากา ครีษมายัน เจริญ วัดอักษร อลิซ บราวน์ อินิโก โจนส์ กาแอล กากูตา

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
เลขมงคล รถยนต์ ทะเบียน ทะเบียนรถ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23180